เลาะฟิลเลอร์-แก้ไขฟิลเลอร์

แก้ไขฟิลเลอร์ เลาะฟิลเลอร์ คาง จมูก

การฉีดฟิลเลอร์ หรือสารเติมเต็ม เพื่อแก้ไขจุดบกพร่องต่างๆ บนใบหน้า ไม่ว่าจะเป็น จมูก ใต้ตา คาง ปาก แก้ม แต่ผลลัพธ์ที่ได้ไม่ถูกใจ ต้องการแก้ไขใหม่ หรือได้รับผลกระทบจากการฉีดฟิลเลอร์มาก จึงจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขโดยแพทย์เฉพาะทาง โดยการเลาะฟิลเลอร์ออก ซึ่งแต่ละเคสก็แตกต่างกันออกไป จำเป็นต้องเข้ามาปรึกษากับคุณหมอเพื่อประเมิณและวางแผนการรักษาก่อน ว่าจะสามารถแก้ไขและทำการ เลาะฟิลเลอร์ ได้มากน้อยเพียงใด

 

ทำไม? ต้อง เลาะฟิลเลอร์

  • ไม่พึงพอใจกับผลลัพธ์จากการฉีดฟิลเลอร์ ต้องการเลาะฟิลเลอร์ออก เพื่อแก้ไข
  • อยากทำศัลยกรรมใหม่ เช่น อยากเสริมจมูกด้วยซิลิโคน อยากเสริมคางด้วยซิลิโคน แทนการฉีดฟิลเลอร์ ก็จำเป็นต้องเลาะฟิลเลอร์ที่ฉีดมาออกก่อนที่ศัลยกรรมใหม่
  • ได้รับผลกระทบจากฟิลเลอร์ เช่น การบิดเบี้ยว อาการบวม อักเสบ เนื่องจากฟิลเลอร์ที่ฉีดไม่ได้มาตรฐาน หรือทำโดยแพทย์ที่ไม่มีความชำนาญ จึงจำเป็นอย่างมากที่ต้องได้รับการรักษาและแก้ไขให้ทันท่วงที

ฟิลเลอร์บางชนิดสามารถย่อยสลายได้ แพทย์ก็จะทำการย่อยสลาย หากย่อยไม่หมดก็จะต้องทำการผ่าตัดเพื่อเลาะฟิลเลอร์ที่ตกค้างอยู่ออกให้หมด

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ทางไลน์ ฟรี!!


รีวิว เลาะฟิลเลอร์

*ผลลัพธ์ที่ได้ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล

แต่งปลายจมูก เลาะฟิลเลอร์

เลาะฟิลเลอร์

*ขอดูรูปภาพเพิ่มเติมได้ทาง Line ของโรงพยาบาลค่ะ


ผลข้างเคียงจากการฉีดฟิลเลอร์มีอะไรบ้าง ?

ฟิลเลอร์ หรือสารเติมแต็มที่มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า Dermal Filler นำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย ซึ่งฟิลเลอร์ที่นำมาใช้นั้นก็มีทั้งแบบที่ถูกต้องตามกฎหมาย และฟิลเลอร์แบบที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และยังมีแบบที่พบเห็นว่าซื้อไปฉีดเองก็มีให้เห็นก็กันอยู่บ่อยๆ

เพราะการนำเสนอข้อมูลด้านเดียวของสารเติมเต็มอย่างฟิลเลอร์ ทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับรู้ข้อมูลทั้งหมด โดยส่วนมากคนจะนำเสนอแต่ด้านดีของฟิลเลอร์ เช่น การฉีดคางด้วยฟิลเลอร์ การฉีดจมูกด้วยฟิลเลอร์ การฉีดหน้าผากด้วยฟิลเลอร์ รวมไปถึงการฉีดฟิลเลอร์เพื่อปรับรูปหน้า ส่วนใหญ่ล้วนนำเสนอจุดขายโดยไม่คำนึงผลกระทบต่อคนไข้ เป็นเรื่องจริงที่ว่า สารเติมเต็มฟิลเลอร์สามารถนำมาใช้เพื่อความงามได้ แต่ต้องดูด้วยว่าฟิลเลอร์ที่นำมาใช้เป็นชนิดใด บางชนิดมีความปลอดภัย แต่บางชนิดมีผลเสียในระยะยาว นอกจากจะต้องคำนึงถึงฟิลเลอร์แล้ว สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญก็คือแพทย์ที่ฉีดฟิลเลอร์ไม่มีความเชี่ยวชาญ หรือไม่ใช่แพทย์เฉพาะทาง ซึ่งพบเห็นเยอะมากในปัจจุบัน ดังนั้นควรศึกษาหาข้อมูลให้ละเอียดก่อนตัดสินใจ และควรเลือกใช้บริการกับโรงพยาบาลที่ได้รับมาตรฐาน ที่สามารถไว้วางใจได้

การฉีดฟิลเลอร์ อาจจะดูว่าเป็นเรื่องง่าย ไม่ซับซ้อน แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่แบบที่เข้าใจกัน เพราะการฉีดฟิลเลอร์จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับใบหน้าอย่างมาก เพราะใบหน้ามีเส้นเลือก เส้นประสาทที่เชื่อมโยงกันจำนวนมาก ทำให้การฉีดสารเติมเต็มฟิลเลอร์ไม่ได้ง่ายแบบที่คิด ว่าจะฉีดตรงไหนก็ได้ เพราะหากฉีดผิดตำแหน่งหรือเกิดข้อผิดพลาดขึ้น ก็จะมีผลข้างเคียง ซึ่งในบางกรณีที่ร้ายแรงก็ไม่สามารถแก้ไขได้

แก้ไขฟิลเลอร์-เลาะฟิลเลอร์

ผลข้างเคียงของการฉีดฟิลเลอร์

  • ฉีดฟิลเลอร์ผิดตำแหน่ง อาจเกิดจากการฉีดฟิลเลอร์ลึกมากเกินไป หรือฉีดตื้นมากเกินไป ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็จะไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็น
  • มีอาการบวม อาการบวมหลังฉีด ไม่ยุบลง จะพบมากในกรณีที่ฉีดฟิลเลอร์เพื่อเติมร่องใต้ตา แล้วเกิดการอุดตันกับทางเดินน้ำเหลือง ซึ่งผลที่ตามมาก็คือทำให้ใต้ตาดูบวม เหมือนกับมีถุงใต้ตา
  • ผิวไม่เรียบ เป็นก้อน ผิวเป็นก้อน ไม่เรียบ ส่วนใหญ่พบในกรณีที่ฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มหรือบริเวณใต้ตา ตื้นมากเกินไป
  • มีเส้นเลือดฝอย หลังฉีดมีเส้นเลือดฝอย ซึ่งเกิดจากฟิลเลอร์ไปอุดตันเส้นเลือดฝอย ส่วนมากพบในคนไข้ที่ไปฉีดฟิลเลอร์จมูก บริเวณปลายจมูก
  • เนื้อเยื่อตาย บริเวณรอบๆที่ฉีดฟิลลเลร์เนื้อเยื่อตาย เกิดจากฟิลเลอร์ไปอุดตันเส้นเลือกขนาดกลาง ส่วนมากจะพบในคนไข้ที่ฉีดฟิลเลอร์เสริมจมูก ปีกจมูก และฉีดฟิลเลอร์เติมร่องแก้ม
  • อักเสบ อาการอักเสบหลังฉีดสารเติมเต็ม จะพบได้บ่อยในคนไข้ที่ฉีดบริเวณจมูก ปลายจมูก เพื่อเติมให้จมูกเป็นทรงหยดน้ำ
  • จมูกใหญ่ขึ้น กรณีนี้เป็นกรณีที่มีการฉีดฟิลเลอร์หลายๆ ครั้ง ทำให้พังผืดบริเวณจมูกเพิ่มขึ้น หากต้องการเสริมจมูก แนะนำมห้เสริมจมูกแบบใส่ซิลิโคนจะดีกว่า อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเสริมจมูกด้วยซิลิโคน
  • ตาบอด กรณีก็มีเกิดขึ้นให้เห็นเช่นกัน ถือเป็นเรื่องที่อันตรายมากที่สุด เกิดจากการฉีดสารฟิลเลอร์เพื่อเสริมจมูก แล้วเกิดผิดพลาดทำให้สารฟิลเลอร์ไปอุดตันเส้นเลือดที่เกี่ยวข้องกับดวงตา

ที่กล่างมาข้างต้นเป็นผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการฉีดสารเติมเต็ม ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจฉีดฟิลเลอร์ควรเข้าปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อความปลอดภัย และผลลัพธ์ที่ดีที่สุด


Tags: ฟิลเลอร์แก้ไขฟิลเลอร์